Sunday, March 17, 2013

เขาว่าแสงแดดเมืองไทยไม่เข้มพอที่จะทำไฟฟ้าได้!

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000032649

  
หน้าแรกผู้จัดการ Online | หน้าแรกผู้จัดการรายวัน | บทความ 
บทความ ประสาท มีแต้ม, โลกที่ซับซ้อน เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก
เขาว่าแสงแดดเมืองไทยไม่เข้มพอที่จะทำไฟฟ้าได้!
โดย ประสาท มีแต้ม17 มีนาคม 2556 15:03 น.
       คุณรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กรุงเทพมหานครได้เล่าให้ฟังว่า ในช่วงที่รัฐมนตรีพลังงานออกมาให้ข่าวเรื่อง “วิกฤตไฟฟ้า” ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ หลังจากที่เธอได้โพสต์ภาพแผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าที่อยู่ริมทางรถไฟในสหภาพยุโรปบน facebook ปรากฏว่ามีคนเข้าไปดูกว่าหนึ่งแสนคน มีการแสดงความเห็นต่างๆ นานา แต่หนึ่งความเห็นที่น่าสนใจคือ “แสงแดดในเมืองไทยมีความเข้มไม่พอที่จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้” 
      
        บทความนี้ นอกจากจะแสดงหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ข้อกล่าวหา (ที่ตลกและฝืนสามัญสำนึก) ดังกล่าวแล้ว ยังจะเสนอความก้าวหน้าของบางประเทศในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งกลไกสำคัญที่จะทำให้พลังงานหมุนเวียน (ซึ่งแสงแดดเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานหมุนเวียน) มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ สรุปก็คือ ผมจะนำเสนอ 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้
      
        ประเด็นแรก มาเริ่มกันที่ความเข้มของแสงแดดหรือพลังงานจากแสงอาทิตย์บนผิวโลกของประเทศต่างๆ ทั่วโลกกันก่อนครับ ภาพข้างล่างนี้เป็นแผนที่แสดงความเข้มข้นของพลังงานแสงอาทิตย์บนผิวโลกต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร
      
        กรุณาอย่าตกใจกับรายละเอียดบนแผนที่นี้นะครับ มันไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่เรามักจะกลัวกัน
       ก่อนอื่นโปรดสังเกตสีที่ใช้ระบายบนแผนที่นะครับ ทั้งหมดมีอยู่ 7 แถบสี (พร้อมดูรหัสบนมุมขวามือด้านบนของรูป) มีโทนสีน้ำตาลเข้ม อ่อน แล้วไล่มาเขียวอ่อน เขียวเข้ม จนถึงสีฟ้าอ่อน และสีฟ้าเข้ม
      
        บริเวณที่ระบายด้วยสีน้ำตาลเข้ม คือบริเวณที่มีพลังงานแสงแดดเข้มที่สุด โดยคิดเฉลี่ยตลอดทั้งปี ในขณะที่ระบายด้วยสีฟ้าเข้มจะได้รับพลังงานน้อยที่สุด
      
        คราวนี้มาดูบริเวณพื้นที่ประเทศไทย ปรากฏว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์มากเป็นอันดับสองของโลก ในขณะที่ในภาคใต้ของประเทศไทยได้รับพลังงานแสงอาทิตย์มากเป็นอันดับที่สี่ (อาจเพราะมีฝนตกมาก)
      
        ในขณะที่ประเทศเยอรมนี (ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มากที่สุดในโลก) มีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเสียอีกคืออยู่ในกลุ่มที่ 4 และ 5 เสียด้วยซ้ำ โปรดสังเกตอีกนิดนะครับว่า สหรัฐอเมริกามีพื้นที่บางส่วนที่มีความเข้มข้นของพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในระดับสูงที่สุดของโลก
      
        ตกลงความเห็นที่เชิงเป็นข้อกล่าวหาที่คุณรสนาได้รับในประเด็นที่หนึ่งนั้นไม่เป็นความจริงแต่ประการใดนะครับ ตรงกันข้ามเรามีแสงแดดดีเป็นอันดับสองและสามของโลกเสียด้วยซ้ำ
      
        ประเด็นที่สอง ความก้าวหน้าของบางประเทศ ขอเริ่มต้นที่เยอรมนีก่อนนะครับ
      
        ในปี 2555 ทั้งๆ ที่เยอรมนีถูกจัดเป็นประเทศที่มีพลังงานแสงแดดอยู่ในอันดับที่ 4 และ 5 ของโลก แต่ก็สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดได้ถึง 28,500 ล้านหน่วย (ที่มา http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php) หรือประมาณ 18% ของที่ประเทศไทยใช้ ซึ่งต้องถือว่าเยอะมากๆ
      
        ในการประชุมสมัชชาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค (13-15 มีนาคม 2556) ผมได้นำเสนอในเรื่องนี้ด้วย ก็มีคนตั้งข้อกังวล 3 ประการคือ (1) การทำแผงโซลาร์เซลล์ต้องใช้พื้นที่เยอะมาก (2) ต้นทุนการผลิตยังแพง หน่วยละ 10 บาท และ (3) เป็นเทคโนโลยีที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อยากให้ประเทศไทยส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์เป็นของตนเอง
      
        ผมไม่ได้ตอบทุกคำถาม แต่ผมได้ตั้งคำถามกลับไปว่า ในโลกปัจจุบันนี้ประเทศไทยผลิตอะไรได้เองบ้าง และใครเป็นเจ้าของ ตอนที่น้ำท่วมประเทศไทยปี 54 เราพบว่า อุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ 60% ของโลกผลิตในประเทศไทย เมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ ชาวญี่ปุ่นไม่มีน้ำยาบ้วนปากมา 4 วัน เพราะโรงงานในประเทศไทยถูกน้ำท่วม คำถามก็คือโรงงานดังกล่าวเป็นของใคร ไม่ใช่ของคนไทยหรอก
      
        ความห่วงใยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีมาก (ถ้าสามารถทำได้) แต่ในเรื่องพลังงานสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากๆ ก็คือชนิดของเชื้อเพลิงว่า มันก่อให้เกิดมลพิษต่อโลกและชุมชนหรือไม่ รวมถึงการกระจายรายได้ด้วย
      
        ในเรื่องต้นทุนที่แพงนั้น งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Duke ในบางรัฐของสหรัฐอเมริกาพบว่า ปัจจุบันต้นทุนไฟฟ้าจากแสงแดดมีราคาถูกกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว และจะถูกลงไปอีกเรื่อยๆ ในขณะที่ต้นทุนนิวเคลียร์จะยิ่งแพงขึ้นไปอีก (บทความเก่าของผมเคยกล่าวถึง)
      
        ในระหว่างที่เขียนบทความนี้ เพื่อนใน facebook ของผมส่งข้อมูลมาให้พบว่า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงแดดมีจำนวนเท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดินเครื่องเต็มที่ถึง 22 โรง ผมนำภาพมาลงเป็นหลักฐานด้วย
       ในข่าวชิ้นเดียวกันนี้บอกว่า ตลาดแผงโซลาร์เซลล์ในสหรัฐอเมริกามีการเติบโตถึง 76% เมื่อเทียบกับปี 2554 ในขณะที่ต้นทุนการผลิตกลับลดลงถึง 27% ในรัฐ Maryland ลดลงถึง 33%
      
        ผมนำภาพมาลงในที่นี้ก็เพื่อให้ท่านที่สนใจสามารถค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้จากอินเทอร์เน็ต
       ผมยังไม่ได้ตอบข้อกังวลของที่ประชุมว่า จะเอาพื้นที่ที่ไหนมาทำแผงโซลาร์เซลล์ ผมได้ตอบไปว่าทางที่ดีที่สุดก็คือการทำบนหลังคาบ้าน อาคารสถานที่ซึ่งเรามีมากมาย
      
        ผมได้เล่าให้ฟังว่า ในประเทศสเปนมีกฎหมายออกมาใหม่ว่า ศูนย์การค้าใหม่ทุกแห่งต้องติดแผงโซลาร์เซลล์ โรงพยาบาลทุกโรงต้องมีแผงต้มน้ำร้อนด้วยแสงแดดบนหลังคา คล้ายๆ กับบังคับว่าบ้านทุกหลังต้องมีส้วม
      
        ขอย้อนมาที่แผนที่พลังงานแสงแดดโลกอีกครั้งครับ ถ้าเราเอาเม็ดถั่วเขียวไปวางบนแผนที่ดังกล่าวเพียง 6 เม็ด แล้วนำพื้นที่จริงขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวในแผนที่ไปสร้างแผงโซลาร์เซลล์ จากข้อมูลที่ผมค้นได้พบว่า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเพียงพอกับความต้องการของมนุษย์ทั้งโลกทั้งปีในปัจจุบัน
      
        ดังนั้น ไม่ทราบจะบอกว่าอย่างไรดี
      
        ประเด็นที่สาม กลไกสำคัญที่จะทำให้พลังงานหมุนเวียนมีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ
      
        เรื่องนี้ต้องขอยกประเทศเยอรมนีเป็นตัวอย่างอีกแล้วครับ เขาได้ออกกฎหมายที่เรียกว่า “กฎหมายเพื่อให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนเป็นอันดับแรก (Law for the Priority of Renewable Energies)”
      
        สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวมี 3 ข้อ คือ ขาดข้อใดข้อหนึ่งจะเพี้ยนทันที
      
        ข้อที่ 1 ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน
      
        ประเทศไทยเรามีระบบโควตาครับ เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม.) ได้ลงทุนติดตั้งด้วยเงินลงทุนประมาณ 1 ล้านบาท แต่ทางการไฟฟ้านครหลวงไม่รับซื้อ แต่รับไฟฟ้าไปฟรีๆ ในวันหยุดทำการ
      
        เจ้าของโรงงานหีบน้ำมันปาล์มที่สุราษฎร์ธานี พยายามที่จะทำโรงไฟฟ้าชีวมวลจากของเสียแต่ปรากฏว่า การไฟฟ้าภูมิภาคไม่รับซื้อ โดยอ้างว่า “เรามีโควตาแค่ 3 ราย คุณเป็นรายที่ 4”
      
        ข้อที่ 2 เป็นสัญญาระยะยาวประมาณ 20-25 ปี สัญญาในประเทศไทยประมาณ 5 ปี แล้วใครจะกล้ามาลงทุนหากไม่ใช่พวกเดียวกันกับผู้มีอำนาจอนุญาต
      
        ข้อที่ 3 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น(บ้าง) ให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ
      
        ขณะนี้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (องค์การตามรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่รัฐบาลนี้ไม่ยอมออกกฎหมายให้) กำลังทำข้อเสนอให้กับเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศร่วมกันผลักดันให้เป็นนโยบายครับ
      
        ช่วยกันทำความเข้าใจ ช่วยกันเสนอ และผลักดันนะครับ
      
        สรุป นักเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานระดับโลกคนหนึ่งกล่าวว่า ความเป็นไปได้ของพลังงานหมุนเวียน (เขากล่าวถึงเฉพาะลมซึ่งก็คล้ายกับกรณีแสงแดด) ว่า หนึ่ง ไม่ได้ขึ้นกับความเร็วลม สอง ไม่ได้ขึ้นกับเทคโนโลยี สาม ไม่ได้ขึ้นกับต้นทุนการผลิต แต่ สี่ ขึ้นกับนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น
      
        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลที่สมคบกับพ่อค้าพลังงานไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและนิวเคลียร์ ร่วมกันผูกขาดทั้งเชื้อเพลิงและนโยบาย
      
        อ้อ ถ้าอยากให้มีการใช้พลังงานแสงแดดกันมากๆ เร็วๆ ทางเดียวที่ง่ายที่สุด คือการอนุญาตให้มีการออกโฉนดบนดวงอาทิตย์ แล้วเมื่อพ่อค้าเหล่านี้ได้โฉนดบนดวงอาทิตย์แล้ว เขาจะส่งเสริมการใช้แสงแดดอย่างแน่นอน เชื่อไหม? 

ข่าวล่าสุด ในหมวด
เขาว่าแสงแดดเมืองไทยไม่เข้มพอที่จะทำไฟฟ้าได้!
ใช่ ไฟฟ้าวิกฤต แต่วิกฤตมาตั้งแต่ก่อนปี 2538 แล้ว!
เมื่อกระทรวงพลังงานไม่เชื่อข้อมูลของตนเอง!
“หากโครงการทั้งหมดเสร็จ แม้แต่มดตัวเดียวก็ไม่โดนน้ำท่วม”
รักจางที่บางปะกง แต่สารปรอทเข้มข้นที่ต้นน้ำ
เครื่องมือจัดการเว็บ
ส่งบทความนี้ต่อ
พิมพ์หน้านี้
ข่าวที่มีผู้ส่งมากที่สุด
แบ่งปันให้เพื่อน 
จำนวนคนอ่าน 3324 คนจำนวนคนโหวต 23 คน
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอข่าว/บทความนี้
ควรปรับปรุงดีมาก
 12345 
12345
ความคิดเห็นที่ 5+11คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ผมสร้างระบบโซล่าร์เซลล์ของผมเองครับ เวลาไฟฟ้าดับ ซึ่งติดๆดับๆมาหลายปี ของผมใช้ไ้ด้ยี่สิบสี่ชั่วโมงครับ โปรดศึกษาจากอินเทอร์เน็ทแล้วทำของท่านเอง อย่าไฟหวังพึ่งรัฐครับ ช่วยตัวเองไปเลย ผมทำขนาด 2400 วัตต์ครับ(ต่อชั่วโมงที่มีแสงแดด) ถ้าทำเกินกว่า 3600 วัตต์ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานครับ เรามีกฎหมายรัชกาลที่ 5 ยังไม่ได้แก้ไขใหม่
เครื่องใช้ไฟฟ้าสิบกว่าปีหลังมานี่ ใช้ไฟฟ้าได้ทั้ง AC/DC 100-240 V. ครับ จะแปลงด้วยอินเวอร์เตอร์หรือไม่ก็ได้
ลองแล้วครับ
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 1+10คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
กฟผ เองก็มีโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ขนาดใหญ่ตั้งสองที่คือ ที่ผาบ่อง และที่ใกล้ช่องเแม็กอุบล ฯ ผลิตไฟเข้าระบบได้ปีละหลายล้านหน่วย แสดงว่าประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ แต่ติดปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตยังสูงตกหน่วยละ เกือบเจ็ดบาท จึงยังไม่มีการพัฒนาในด้านนี้อย่างจริงจัง แต่ถ้ารัฐนำเงินที่ขาดทุนจำนำข้าวปีละสองแสนล้าน มาลงทุนน่าจะช่วยลดการสร้างโรงไฟฟ้าได้หลายโรง
บินหลา
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 9คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
เขาว่า ใครเหรอ ควายหรือวัว
boon
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 8คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
อาศัยอยู่ในเยอรมนี มากกว่าอยู่เมืองไทย
เยอรมนีเลิกใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานปรมาณู หันมาใช้พลังงานลม โดยติดกังหันลม และใช้พลังงานแสงแดด ผลิตไฟฟ้า เอกชนบางราย ใช้ความร้อนใต้ดินผลิตไฟฟ้าใช้ได้
ตอนเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นฤดูหนาวแสงแดดจะน้อย ไม่เห็นแสงแดดเป็นอาทิตย์ๆ ไม่รู้ว่าช่วงนีประชาชนที่ใช้โซลาเซลผลิตไฟฟ้าจะทำอย่างไร
ต่อ
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 7คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
งั้นพรุ่งนี้ ซื้อ solar เลยละกันครับ
mon
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 6+1คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
แผงโซล่าร์เซลในไทย ไม่มีวันถูก เพราะถ้าชาวบ้านติดได้ รายได้จากค่าไฟ หายไปเยอะๆแน่ๆ
คนไทย
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 5+12คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ผมสร้างระบบโซล่าร์เซลล์ของผมเองครับ เวลาไฟฟ้าดับ ซึ่งติดๆดับๆมาหลายปี ของผมใช้ไ้ด้ยี่สิบสี่ชั่วโมงครับ โปรดศึกษาจากอินเทอร์เน็ทแล้วทำของท่านเอง อย่าไฟหวังพึ่งรัฐครับ ช่วยตัวเองไปเลย ผมทำขนาด 2400 วัตต์ครับ(ต่อชั่วโมงที่มีแสงแดด) ถ้าทำเกินกว่า 3600 วัตต์ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานครับ เรามีกฎหมายรัชกาลที่ 5 ยังไม่ได้แก้ไขใหม่
เครื่องใช้ไฟฟ้าสิบกว่าปีหลังมานี่ ใช้ไฟฟ้าได้ทั้ง AC/DC 100-240 V. ครับ จะแปลงด้วยอินเวอร์เตอร์หรือไม่ก็ได้
ลองแล้วครับ
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 4คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ทำบ้านหนูดีกว่า...ภาคอีสานแดดเปรี้ยงมากพอ..ดีกว่าอย่างอื่น
Isan
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 3+1คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ใครว่าแสงแดดในเมืองไทยมีความเข้มไม่พอที่จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้นี่ ขอบอกว่ามั่วมากๆ
ถ้าใครเล่นหุ้นอยู่ตอนนี้ น่าจะพอรู้นะว่ามีเกือบสิบบริษัทที่ทำธุรกิจหรือกำลังลงทุนในการทำโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ลองเปิดกูเกิลดู เซิรส์ว่า "หุ้น แสงอาทิตย์"
เม่าปีกเหล็ก
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 2+1คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
ผมวิ่งไปเส้นทางลพบุรี-ชัยภูมิ เห็นมีตั้งรับแสงแดดเป็นไร่ๆๆเลยครับ
กนกวลี อุ้มหมีขึ้นรถไฟ
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
ความคิดเห็นที่ 1+11คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
กฟผ เองก็มีโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ขนาดใหญ่ตั้งสองที่คือ ที่ผาบ่อง และที่ใกล้ช่องเแม็กอุบล ฯ ผลิตไฟเข้าระบบได้ปีละหลายล้านหน่วย แสดงว่าประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ แต่ติดปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตยังสูงตกหน่วยละ เกือบเจ็ดบาท จึงยังไม่มีการพัฒนาในด้านนี้อย่างจริงจัง แต่ถ้ารัฐนำเงินที่ขาดทุนจำนำข้าวปีละสองแสนล้าน มาลงทุนน่าจะช่วยลดการสร้างโรงไฟฟ้าได้หลายโรง
บินหลา
คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น
1.โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2.ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3.ทีมงานเว็บมาสเตอร์ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
4.เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ ทางผู้จัดการออนไลน์ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
5.ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นสามารถร่วมตรวจสอบข้อความที่ไม่เหมาะสมได้ โดยการกดปุ่ม "แจ้งลบ" หรือส่งอีเมลแจ้งมาที่ cs@astvmanager.com หรือ cs.astvmanager@gmail.com ซึ่งทีมงานจะทำการตรวจสอบ และลบข้อความดังกล่าวโดยเร็วที่สุด หรืออย่างช้าภายใน 3 วันทำการ
เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ ทางผู้จัดการออนไลน์ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
โชว์ภาพผู้ใช้ทุกครั้งที่แสดงความเห็น เพียงเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีของเฟซบุก กดที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย!


ชื่อ/e-mail ของคุณ : *
 
 *
  กฎกติกาการแสดงความคิดเห็นฉบับเต็ม
 
หนังสือพิมพ์: ASTV ผู้จัดการออนไลน์ | ASTV ผู้จัดการรายวัน | ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ | นิตยสารผู้จัดการ 360° | Positioning | ASTV News1
มุม: การเมือง | อาชญากรรม | คุณภาพชีวิต | ภูมิภาค | ต่างประเทศ | มุมจีน | iBiz Channel | Motoring
CyberBiz | วิทยาศาสตร์ | เกม | กีฬา | บันเทิง | Life on Campus | Celeb Online | ท่องเที่ยว | ธรรมะกับชีวิต | Multimedia
เว็บ: Asia Times | บุรพัฒน์ คอมมิคส์ | Public Law | Mars Magazine | ทะเลไทย | คุยกับเว็บมาสเตอร์ | ติดต่อเรา
All site contents copyright ©1999-2013 Thailand Web Stat