Wednesday, March 13, 2013

ผ่าแผนพลังงานทดแทนใหม่20ปี‏

http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=1132:20&catid=17:2008-12-15-07-03-49&Itemid=318


ผ่าแผนพลังงานทดแทนใหม่20ปี‏

อีเมลพิมพ์PDF
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด 
Addthis
altแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ยังไม่นิ่ง กระทรวงพลังงานปรับแผนใหม่ ขอขยายเป็น 20 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน ที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในประเทศเป็น 25-30% ในปี 2570 จากปัจจุบันอยู่แค่ 6% เป็นการปรับเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และลดชีวมวลลงจากเหตุปัญหาต่อต้าน

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการทบทวนแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี(2551-2565) โดยจะขยายแผนการดำเนินงานออกไปเป็น 20 ปี หรือสิ้นสุดแผนในปี 2570 เพื่อสอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนอยู่เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้การทบทวนแผนดังกล่าวนี้จะทำให้ประเทศเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทด แทนขึ้นไปอยู่ในระดับ 25-30% จากแผนเดิมที่เคยวางไว้เพียง 20% ในขณะที่ปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้อยู่เพียง 6%  โดยจะไปเพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 500 เมกะวัตต์ เป็นไปต่ำกว่า 1,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากขณะนี้มีผู้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามามาก และมีการตอบรับและการลงนามซื้อขายไฟฟ้าแล้ว 1,877 เมกะวัตต์

  ส่วน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม แผนเดิมมีเป้าหมายไว้ 800 เมกะวัตต์ แต่เวลานี้มีผู้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าเข้ามา มีการตอบรับและลงนามซื้อขายไฟฟ้าแล้ว 586 เมกะวัตต์ ส่วนอีก 998 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าอยู่ หากพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวนี้ ก็เชื่อว่าน่าจะปรับเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมขึ้นไปได้ไม่ต่ำ 1,000 เมกะวัตต์

ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ที่ตั้งเป้าหมายเดิมไว้ 3,700 เมกะวัตต์ แต่ขณะนี้มีการยื่นเสนอขายไฟฟ้าเข้ามาเพียง 2,128 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเป้าที่วางไว้  ซึ่งในส่วนนี้อาจจะต้องมีการปรับเป้าหมายลงมา เนื่องจากเวลานี้โรงไฟฟ้าชีวมวลเริ่มมีกระแสการคัดค้านจากประชาชนในหลาย พื้นที่ เกรงว่าโรงไฟฟ้าที่ลงนามซื้อขายไฟฟ้าไว้แล้วจะไม่สามารถเดินหน้าก่อสร้างได้ ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมีอยู่อย่างจำกัด และมีราคาแพงขึ้น



อาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับเป้าหมายของการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลลงมา ส่วนจะเป็นเท่าใดนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ ไม่น่าจะมีปัญหา และจะมีการปรับเป้าหมายขึ้นไปบ้าง  ไม่ว่าจะเป็นจากขยะ 160 เมกะวัตต์ เนื่องจากในแต่ละพื้นที่มีศักยภาพมาก  ซึ่งในส่วนนี้จะไปร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม(สผ.) ที่จะเข้าไปจัดการขยะในเทศบาลต่างๆ

ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่กำหนดได้ 120 เมกะวัตต์ ก็น่าจะปรับเพิ่มเป้าหมายได้เช่นกัน เพราะเวลานี้ จำนวนฟาร์มสุกร เกิดขึ้นมามาก จะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้ ขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขนาดเล็กและจากท้ายเขื่อน 324 เมกะวัตต์นั้น อาจจะยังคงเป้าหมายเดิมอยู่ สำหรับไม้โตเร็ว ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้านั้น แต่เดิมไม่อยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ในส่วนที่มีการปรับแผนใหม่นี้ จะมีการนำการผลิตไฟฟ้าจากไม้โตเร็วเข้าไปอยู่ในแผนด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการปรับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนใหม่ครั้งนี้ ที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในอีก 1-2 เดือนข้างหน้านี้ เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณานั้น จะไม่ทำให้เป้าหมายการผลิตไฟฟ้าลดไปจากของเดิมที่กำหนดไว้ทั้งหมด 5,604 เมกะวัตต์  แม้ในส่วนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลจะลดลงก็ตาม เพราะจะมีการเกลี่ยในส่วนของพลังงานลม และแสงอาทิตย์ ที่เพิ่มขึ้นเข้ามาแทน

นายวีระพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยถึงการปรับลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มหรือAdder ของการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลงมาเหลือ 6.50 บาทต่อหน่วย จากเดิม 8 บาทต่อหน่วยว่า หากรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยื่นเสนอขายไฟฟ้ามาทั้งหมด 2,900 เมกะวัตต์ จะทำให้เกิดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 800 เมกะวัตต์ ขึ้นมารองรับ 3-4 โรง เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีความไม่แน่นอน หากวันไหนมีฝนตกมากปริมาณแสงอาทิตย์ไม่พอ จะส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าได้   

ดังนั้น การจะพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จึงต้องมีการควบคุมให้ปริมาณเหมาะสม อีกทั้ง ไม่มีการปรับลด Adder ลงมา และมุ่งส่งเสริมโดยไม่สนใจต่อค่าเอฟทีที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการประเมินตามการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีการเสนอขายเข้ามา ทั้งหมดประมาณ 7,000 เมกะวัตต์ จะส่งผลค่าเอฟทีเป็นภาระประชาชนเพิ่มขึ้น 25 สตางค์ต่อหน่วย หรือต้องนำเงินไปชดเชยประมาณ 400,604 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่สูงมาก

No comments:

Post a Comment