Monday, March 11, 2013

มจธ. ทำได้ “แผ่นฟิล์มสำหรับห่อหุ้มแผงโซลาร์เซลล์” ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

http://www2.kmutt.ac.th/thai/res_feat/info_succ/succ-01.html

ไทย | Eng
logospacerspacerspacer
spacer
มจธ. ทำได้ “แผ่นฟิล์มสำหรับห่อหุ้มแผงโซลาร์เซลล์” ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
:: หน้าหลัก >งานวิจัย > กรณีศึกษา > มจธ. ทำได้ “แผ่นฟิล์มสำหรับห่อหุ้มแผงโซลาร์เซลล์” ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
วันที่ :
โดย :
ผลงานวิจัย “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มบางโพลิเมอร์
โปร่งแสง ชนิด Ethylene Vinyl Acetate (EVA) สำหรับห่อหุ้มเซลล์
แสงอาทิตย์แก่ภาคเอกชนในระดับอุตสาหกรรม” ของ รศ.ดร.จตุพร วุฒิกนกกาญจน์  สายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อม และวัสดุ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ได้รับรางวัล PTIT Awards ประเภทที่ 3 PTIT Scholar ประจำปี 2550 - 2551 ที่จัดขึ้นโดย มูลนิธิเ พื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยรับรางวัลฯ กับประธานคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อสถาบันฯ พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ (องค์มนตรี) เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550 ในงาน The Petroleum Institute Dinner ณ ห้องวิภาวดีบอลล์รูม โรมแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว

อาจารย์จตุพร เล่าให้ฟังว่า เซลล์แสงอาทิตย์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า
โซลาร์เซลล์ (solar cells) เป็นแผงเซลล์ที่นำพลังงานจากแสงอาทิตย์ มาเป็น
แหล่งผลิตพลังงานสำหรับใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นแหล่งพลังงาน
สำหรับอาคาร ที่อยู่อาศัย เป็นต้นโดยในส่วนที่อาจารย์ทำวิจัยนั้นคือแผ่นฟิล์ม
ที่ไว้สำหรับห่อหุ้มเซลล์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์โปร่งแสง หรือ
กาวโปร่งแสง และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับใช้ในการประกอบเป็น
แผงเซลล์แสงอาทิตย์
งานวิจัยฯ นี้เริ่มจากทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) ได้ให้ทุนวิจัย เพื่อศึกษาและพัฒนาสูตรสำหรับผลิตวัสดุ ที่ใช้ห่อหุ้มโซลาร์เซลล์ เพราะเล็งเห็นว่าในปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิต เซลล์แสงอาทิตย์ จะต้องนำเข้าแผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์โปร่งแสงจาก
ต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง ส่งผลในแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตในประเทศ มีต้นทุนสูง และศักยภาพในการแข่งขันทางด้านราคาต่ำ และในอนาคต เซลล์แสงอาทิตย์มีแนวโน้มว่าจะมีการขยายตัวในเรื่องของการผลิต
เพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากความต้องการในการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในตลาดโลก มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัท ที่ทำการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ 4 ราย ซึ่งต้องใช้แผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์โปร่งแสงที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน และเยอรมัน มาประกอบในการผลิต ซึ่งวัสดุดังกล่าวนั้นมีราคาแพง และในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตแผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์
โปร่งแสงดังกล่าวได้เอง
อาจารย์จตุพรในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และเพื่อนร่วมงานอีก 2 ท่าน
คือ อาจารย์เจษฎา วงษ์อ่อน และคุณสิริอร อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ใช้เวลา ในการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแผ่นฟิล์มบาง โพลิเมอร์โปร่งแสง ชนิด Ethylene Vinyl Acetate (EVA) สำหรับห่อหุ้มเซลล์แสงอาทิตย์ในระดับ ห้องปฏิบัติการเป็นผลสำเร็จ ซึ่งผลงานดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการยื่นขอจด สิทธิบัตรเรื่อง “สูตรผสมฟิล์มพอลิเมอร์โปร่งแสงสำหรับใช้ห่อหุ้มเซลล์ แสงอาทิตย์และกรรมวิธีการผลิตฟิล์มพอลิเมอร์โปร่งแสง”
ต้นทุนการผลิต แผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์โปร่งแสงนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ
80 บาท/ ตารางเมตร ในขณะที่ราคานำเข้าของวัสดุจากต่างประเทศ (ที่ขนาดความหนาเท่ากัน ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร) จะอยู่ที่ประมาณ 4.5 เหรียญสหรัฐ / ตารางเมตร ซึ่งเมื่อหักค่าการตลาดของฟิล์มอีวีเอจาก ต่างประเทศออกไปแล้ว จะพบว่าราคาต้นทุนการผลิตจะอยู่ที่ประมาณ 130 บาทต่อตารางเมตร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแผ่นฟิล์มบาง โพลิเมอร์โปร่งแสง ที่ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีของ มจธ. ร่วมกับ สวทช. จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า
ประมาณ 50 บาท/ตารางเมตร และในอนาคตหากมีการใช้วัตถุดิบ
เม็ดพลาสติกที่ผลิตได้จากในประเทศมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ต้นทุนการผลิต
แผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์ได้อีก ดังนั้นหากผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ใน
ประเทศไทยสามารถใช้วัสดุห่อหุ้มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตขึ้นจาก ในประเทศไทยได้ ก็จะสามารถประหยัดต้นทุนได้รวมปีละ 90 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากกำลังการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศ โดยรวมเท่ากับ
180 เมกะวัตต์/ปี หรือคิดเป็นความต้องการ ใช้ฟิล์มอีวีเอประมาณ 1.8 ล้านตารางเมตร/ปี นอกจากนั้น ในส่วนของประเทศไทยโดยรวมก็จะช่วย ทำให้ลดการสูญเสียเงินออกนอกประเทศได้ถึงปีละ 306 ล้านบาทต่อปี
โดยวัสดุแผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์โปร่งแสงอีวีเอนี้ มีคุณสมบัติส่วนใหญ่ที่
ใกล้เคียงกับวัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งยังสามารถทนต่อการ
เสื่อมสภาพจากแสง UV ได้ดีกว่าฟิล์มที่นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจาก
สูตรผสมเคมีที่ใช้สารแอนติออกซิแดนซ์แตกต่างกัน ทำให้วัสดุห่อหุ้มเซลล์
แสงอาทิตย์มีอายุงานที่นานกว่า
ในการทำงานวิจัยครั้งนี้อาจารย์และทีมงานได้ใช้เวลา 2 ปี แต่ในปัจจุบัน
ก็ยังไม่หยุดที่จะคิดและพัฒนาสูตร พร้อมทั้งยังมีการต่อยอดความคิดนี้
โดย สวทช. เห็นว่าน่าจะนำเทคโนโลยีการผลิตแผ่นฟิล์มบาง โพลิเมอร์
โปร่งแสงไปถ่ายทอดให้กับภาคเอกชนที่สนใจ เพื่อผลักดันให้เกิดการ
พัฒนาในระดับอุตสาหกรรมของการผลิตแผ่นฟิล์มบางโพลิเมอร์โปร่งแสง
ในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมที่จะทำการ ถ่ายทอดนั้น ได้แก่ อุตสาหกรรมฟิล์ม พลาสติก
“เหนื่อย.. เบื่อ..ได้ แต่อย่าท้อ และอย่าทำงานเพราะหวังรางวัล
หรือหวังเงิน แต่ถ้าเราทำอะไรที่ใจรักแล้ว เราทุ่มเททำให้มันเต็มที่แล้ว
อะไรดีๆ หลายๆ อย่างจะเข้ามาเอง ผมเชื่ออย่างนั้น”
รศ.ดร.จตุพร วุฒิกนกกาญจน์
spacer
image
graphic1/5graphic

No comments:

Post a Comment