Wednesday, March 13, 2013

วิกฤติไฟขาดเม.ย. จี้รัฐเร่งหนุนโซลาร์เซลล์ชุมชน


http://www.dailynews.co.th/article/728/186468

วิกฤติไฟขาดเม.ย. จี้รัฐเร่งหนุนโซลาร์เซลล์ชุมชน

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.
กรณีที่แหล่งก๊าซธรรมชาติในพม่าจะปิดซ่อมบำรุงการทรุดตัวของแท่นขุดเจาะในช่วงวันที่ 5-12 เม.ย.นี้จะส่งผลต่อปริมาณก๊าซที่ส่งให้ประเทศไทยหายไป 1.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต และส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าของไทยได้ ปริมาณไฟฟ้าจะหายไป 6,000 เมกะวัตต์ มีหลายเสียงออกมาพูดถึงผลกระทบที่จะเกิดอาจเป็นไปได้ว่าไฟฟ้าจะติดๆดับในบางพื้นที่ ย้ำเตือนว่าคนไทยต้องเตรียมรับความไม่สะดวกสบายในช่วงเวลาดังกล่าว อีกเสียงหนึ่งมองนี่เป็นการปล่อยข่าวจากรัฐบาลที่ต้องการอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มรวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์   แสงไฟสว่างไสวครอบคลุมเกือบทั่วประเทศมากว่า 50 ปี จนถึงวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต้องพึ่งพาพลังงานถ่านหินและน้ำมันเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์  ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 26,000 เมกะวัตต์  คาดการณ์ว่าในปีนี้เราจะใช้ไฟฟ้า 26,700 เมกะวัตต์เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

การผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศนอกจากเชื้อเพลิงจากฟอสซิลแล้วยังมีพลังงานด้านอื่นไม่ว่าจะเป็นพลังงานน้ำ พลังงานลม และแสงแดด หรือโซลาร์เซลล์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เสนอทางเลือกอีกทางที่ประเทศไทยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลอย่างเดียว ประเทศไทยมีศัยกภาพที่สามารใช้พลังงานแสงอาทิตย์wfh โดยอาคารที่ทำการของสำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้บริภคได้ทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนชั้นดาดฟ้าของตึก ณ ที่ ทำการ ซ.ราชวิถี 7 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มาตั้งแต่ปลายปี 2553

อนุกูล วงศ์เมือง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายออกแบบ บริษัทโซลาร์ฟิวเจอร์ ในฐานะบริษัทผู้เข้ามาติดตั้ง กล่าวว่ามูลนิธิได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 11 กิโลวัตต์  เพื่อลดการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ทางมูลนิธิได้เล็งเห็นว่าทุกปีในประเทศไทยจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าทุกปี ตามการเติบโตของเศรษฐกิจ   ระบบนี้ได้ติดตั้งบนดาดฟ้าใช้พื้นที่ 70 ตารางเมตรง ชนิดผลึกซิลิคอนขนาดแผงละ 230 วัตต์ จำนวน48 แผง  ไฟฟ้าที่ได้ถูกแปลงเป็นกระแสสลับ และส่งเข้าตู้ไฟฟ้าของอาคาร โดยไม่มีการเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่  ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เดือนละประมาณ 1,200 หน่วย หากคิดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 4.5 บาท จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ 5,400 บาท

ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิตระหนักถึงการใช้พลังงานสะอาดมูลนิธิผู้บริโภคลงทุนโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อใช้ไฟฟ้า ในความคิดที่ว่าถ้าเหลือใช้จะไปเจือจานให้คนอื่นใช้ แต่ด้วยนโยบายของรัฐเองไม่เปิดให้เราสามารถเอาพลังงานที่เราสร้างกลับไปให้สายส่ง ขณะเดียวพลังงานที่เหลือไม่สามารถส่งไปช่วยเหลือคนอื่นได้ รัฐมีนโยบายที่จะให้ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์แต่มีโควต้า ปรากฏว่าเมื่อเปิดโควต้ามีคนไปจองโควต้าไว้ ขณะเดียวโควตาที่จองไว้ไม่มีการใช้จริง และโควตาเป็นของบริษัทใหญ่รัฐบาลไม่มีโควตาสนับสนุนให้องค์กรเล็กๆที่จะผลิตใช้เองเพื่อเข้าสายส่ง

อิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์ พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวให้ชื่อว่าเป็นโรงไฟฟ้าไม่ง้อก๊าซ ทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าห้างสรรพสินค้าทั้งหลายเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าอันดับต้น หรือลานจอดรถของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เปลี่ยนหลังคามาผลิตโซลาร์เซลล์สามารถสร้างพลังงานของตัวเองได้ สิ่งที่ปรากฎประหยัดค่าไฟฟ้าประมาณเดือนละ 20-30 เปอร์เซ็นต์สามารถคืนทุนได้ไม่เกิน 5 ปี  โมเดลเล็กๆที่มูลนิธิทำจากการปฏิบัติของเราเอง และเราพยายามจะขอให้หน่วยงานด้านไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าในช่วงที่ไม่ได้ใช้ แต่ปรากฏว่าถูกปฏิเสธอ้างว่าไม่มีโควตารับซื้อ
 
“พลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกกดขี่มาตลอดว่ามีต้นทุนสูงสามารถทำให้ต่ำลงมาได้แต่ว่าตลาดต้องเปิดให้ประชาชนเข้าถึง สิ่งที่ปรากฏคณะกรรมการที่ดูแลด้านพลังงานมีนโยบายส่งเสริมเฉพาะเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนทางการเมือง แต่กลับไม่ส่งเสริมแหล่งผลิตโรงไฟฟ้าขนาดเล็กตามอาคารบ้านเรือนให้สามารถเหลือใช้ส่งคืน รัฐบาลกันโควต้าของตัวเองสำหรับโรงไฟฟ้าก๊าซ ซึ่งต้องใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติที่กำลังหมดไป ทราบว่าบริษัทปตท.ได้ทำสัญญาซื้อก๊าซอย่างต่อเนื่องในปี 54 นำเข้ามา 1 ล้านตันสำหรับก๊าซแอลเอ็นจี มูลค่า 1.6 พันล้านบาทและปี2556 -2557 กำลังขยายนำเข้า 5 ล้านตันต่อปี เท่ากับมูลมีมูลค่า 80,000-100,000 ล้านตัน แอลเอ็นจีมีกิโลกรัมละ 20 บาทต่อกก.ขณะที่ก๊าซจากอ่าวไทยอยู่ที่ 8 บาท ภาระค่าส่วนต่างกำลังถูกตัดมาที่ค่าเอฟทีให้กับประชาชนผ่านการสั่งซื้อที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม วันนี้มูลนิธิผู้บริโภคพยายามสะท้อนว่าสังคมไทยสามารถสร้างพลังงานด้วยตัวเองได้ แต่ถูกปิดกั้นด้วยหน่วยงานด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องเนื่องจากมีผลประโยชน์ทับซ้อน”

หัวหน้าศูนย์ พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ถ้ารัฐทราบว่ามีวิกฤติพลังงานขณะนี้ สิ่งที่ควรจะทำลำดับแรก ต้องนำคือแผนPDP(แผนพัฒนากำลังการการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย)ปี2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3ไปแก้ไขใหม่ เพราะแผนพีพีดีใหม่ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ยังมีการประมูลสัญญาอยู่ในเดือนเม.ย. เช่นเดียวกัน โรงไฟฟ้าความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซพบว่ายังคงมีการใช้ก๊าซถึง 46 เปอร์เซ็นต์ จากกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมด  รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก เพราะตอนนี้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนกำลังกลายเป็นฟาร์ม มีการแย่งพื้นดินทางเกษตรโดยเฉพาะภาคอีสาน ผิดปรัชญาของพลังงานหมุนเวียนที่กระจายให้ชุมชนเข้าถึง

ต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมนโยบายการติดตั้งพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ให้มากขึ้น ช่วยลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ลดภาวะสถานการณ์การขาด การแก้ไขพลังงานขาดแคลน คือการแก้ไขพีดีพี ปี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ให้มีโรงไฟฟ้าหมุนเวียนขนาดเล็กที่รัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าให้มากขึ้น รัฐควรจัดสรรงบประมาณมาจัดสรรสำหรับประชาชนที่ต้องการเซลล์แสงอาทิตย์มาติดกับหลังคาเรือนรวมทั้งพลังงานลม  ลักษณะเดียวกับที่รัฐบาลควักระเป๋ากับเงินหลายพันล้านบาทที่ส่งเสริมปตท.ที่จ่ายเงินให้กับแท็กซี่ในการติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวี  ทำไมรัฐบาลจึงทำได้กับเอ็นจีวีแต่กรณีของเซลล์แสงอาทิตย์กับหลังคารัฐบาลจึงไม่ทำ

ประสาท มีแต้ม ในฐานะนักวิชาการผู้ติดตามเรื่องการใช้พลังงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า  กรณีโควต้าการรับซื้อไฟ มีตัวอย่างชาวบ้านในจ.สุราษฎร์ธานีต้องการนำน้ำเสียจากโรงหีบปาลม์มาทำเป็นชีวมวล  แต่ไม่สามารถอนุมัติให้ตั้งโรงงานได้ เพราะการไฟฟ้าแจ้งว่าโควต้าเต็ม  ชาวบ้านจึงร้องเรียนมาที่กรรมการสิทธิ ต่างจากประเทศเยอรมันที่เป็นผู้นำเรื่องนี้มีหลักการอยู่ 3 ข้อเรื่องไฟฟ้าระบุว่า ใครที่ตามใครที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้สามรถขายได้ก่อนไม่จำกัดจำนวน 2.สัญญาทีที่ทำต้องเป็นสัญญาระยะยาว25 ปีขณะที่บ้านเราตั้งไว้ที่ 7 ปีหลังจาก 7 ทำให้นักลงทุนไม่กล้าทำ ข้อ3ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องสายส่งหรือส่วนอื่น ให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ เราได้ศึกษาเรื่องนี้พบว่าถ้าประเทศไทยทำแบบเยอรมันค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มประมาณครอบครัวละ 15 บาทต่อเดือนเท่านั้น ดังนั้นในเชิงหลักการแล้วสามารถทำได้

จากการศึกษาพบว่า ยอมรับค่าความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ในบ้านเรามีความเข้มทางฟิสิกส์น้อยกว่าทางยุโรป แต่มีปริมาณมากกว่า  ทั้งนี้ พลังงานที่คนทั้งโลกใช้ทั้งปีเท่ากับแสงอาทิตย์ส่องมาให้โลก 8 นาทีเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพเหลือเฟือ ในยุคนี้มีเทคโนโลยีนาโนมาใช้แล้ว

“พลังงานที่นำมาใช้ต้องผสมผสานช่วงไม่มีแดดต้องนำลมหรือพลังงานตัวอื่นมาใช้แทน แต่จุดที่เน้นต้องใช้พลังงานที่เรามี”

วิกฤติไฟไม่พอในเดือนเม.ย.จะเกิดขึ้นแล้วหนักหนาสาหัสเพียงไหนต้องจับตาดูกันต่อไป

No comments:

Post a Comment