Thursday, January 24, 2013

Australian Scientists Enhancing Thin Film Solar Cells’ Efficiency

http://www.greenoptimistic.com/2012/02/21/suntech-thin-film-solar-cell/#.UQD8r7T0BpY


Australian Scientists Enhancing Thin Film Solar Cells’ Efficiency

By  on February 21, 2012


suntech thin film 300x168 Australian Scientists Enhancing Thin Film Solar Cells Efficiencyhe thin-film technology strives for closing the gap with silicon cells in the race for the most efficient solar panels.
Researchers from the Swinburne University of Technology, Australia, together with Suntech Power Holdings announced that embedding gold and silver nanoparticles into thin-film solar cells has managed to improve the efficiency of solar panels by 8.1%. They plan a 10% improvement by mid 2012 and strive for “solar cells that are twice as efficient to run at half the cost of those currently available” by 2017, the date set for starting commercial mass-production.
The basis for this technology resides in the team’s discovery of the “broadband plasmonic effect.” Baohua Jia, PhD and Senior Research Fellow at Swinburne states: “What we have found is that nanoparticles that have an uneven surface scatter light even further into a broadband wavelength range. This leads to greater absorption, and therefore improves the cell’s overall efficiency.”
Thin-film technology is a cheap alternative to crystalline silicon cells. However, they are less efficient due to the reduced thickness of their silicon layer, thus turning the new light-trapping technology into an area of extreme importance. Nucleated gold and silver nanoparticles are highly reflective and increase the wavelength of the absorbed light, converting photons into electrons at a rate higher than that of existing thin-film cells.
Swinburne Professor Min Gu, Director of the Victoria-Suntech Advanced Solar Facility (VSASF) hopes that this broadband nanoplasmonic technology will transform the global perception on electric utilities. “One of the main potential applications of the technology will be to cover conventional glass, enabling buildings and skyscrapers to be powered entirely by sunlight.”
With such new perspectives, all we need is bigger windows.
[via physorg]

Monday, January 21, 2013

GUNKUL เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัว ล่าสุดระดมเงินทุน จาก SCB 2,390 บาท สำหรับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซล 30.9 MW


GUNKUL เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัว ล่าสุดระดมเงินทุน จาก SCB 2,390 บาท สำหรับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซล 30.9 MW


คงเป็นที่ทราบกันดีว่าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นเบอร์หนึ่งที่มีศักยภาพและหน้าลงทุนมากที่สุดด้านพลังงานทดแทนในประเทศไทยประกอบกับต้นทุนของอุปกรณ์ที่มีราคาลดน้อยลง จึงมีนักลงทุนทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้ามาลงทุนและขอใบอนุญาตขายไฟฟ้ามากขึ้น

โดย ณ ปัจจุบันจะเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์กันเป็นระยะในการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการโซลาร์ฟาร์มในระดับหลายเมกกะวัตต์ และเกทับกันว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บ้างก็บอกว่าใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนดูแล้วเห็นแววรุ่งสำหรับอนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ ในประเทศไทย
เพราะปัจจุบันธุรกิจด้านพลังงานได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังจากภาครัฐ และหากประเทศมีความมั่นคงมีการขยายระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานก็จะทำให้ธุรกิจพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์มีโอกาสเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ

อย่างไรก็ตามล่าสุด บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL มีแผนเดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัวภายในปีนี้เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนด้านพลังงานทดแทน โดยได้เดินหน้าดำเนินการในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ และในอนาคตจะขยายธุรกิจไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม 

โดย นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากปัจจัยดังกล่าวจึงได้แต่งตั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการระดมทุน (Financial Advisor) และเป็นผู้จัดการในการระดมเงินทุน (Mandated Lead Arranger) โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 2,390 บาท สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30.9 เมกะวัตต์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายธุรกิจตามเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนอย่างครบวงจร อันจะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตและการขยายตัวด้านธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30.9 เมกะวัตต์นั้นเป็นโครงการที่ GUNKUL ได้ร่วมลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้รับ Adder 8 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี สำหรับการดำเนินการโครงการตลอด 25 ปี โดยในปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 7.4 เมกกะวัตต์ ในปี 2554 และมีแผนจะก่อสร้างส่วนที่เหลืออีก 23.5 เมกกะวัตต์ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 นี้ 

‘3บริษัทยักษ์’ลุยตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ชี้ปี2020คนไทยผลิต ‘โซล่าเซลล์’ใช้กันเอง!


       ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์บูมไม่หยุด หลังต้นทุนลด - รัฐหนุน Adder จับตา ‘บางจาก-เอ็กโก-ราชบุรีโฮลดิ้ง’ ลุยตลาดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สร้างรายได้ที่มั่นคง และลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ด้านนักวิชาการ ชี้ ปี 2020 วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยน หันมาผลิตไฟฟ้าจาก ‘โซล่าเซลล์’ ใช้เองในครัวเรือน พบช่องโหว่มาตรการพลังงานแสงอาทิตย์ ทำผู้ผลิตเสียโอกาส กรณีกั๊กใบจองอื้อแต่ไม่ยอมผลิต! 
      
       พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นทางเลือกของพลังงานที่จะใช้แพร่หลายในอนาคตของสังคมไทย ทดแทนพลังงานเดิม อย่างก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน ฯลฯ ที่นับวันจะประสบปัญหาด้านวัตถุดิบที่ลดลง และอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ปัจจุบันมีผู้ประกอบการมืออาชีพจำนวนมาก หันมาตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างจริงจังเป็นจำนวนมาก
      
       2020 คนไทยผลิตไฟใช้เอง 
      
       “อีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2020 พลังงานแสงอาทิตย์จะเข้ามามีบทบาท และใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย จนทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตามบ้านเรือนจะมีแผงโซล่าเซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง แต่ละครัวเรือนมากขึ้น ซึ่งอาจจะมาใกล้เคียงกับรถเสียบปั๊ก และอาจมีทีเก็บพลังงานไว้ใช้ ในอนาคตเทคโนโลยีจะทันสมัยมากยิ่งขึ้น และราคาต้นทุนอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตพลังงานจะลดต่ำลงมาก” ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุ
      
       ทั้งนี้พลังงานแสงอาทิตย์ถือว่าเหมาะกับประเทศไทย แต่ปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้อย่างเต็มที่ ดังนั้นรัฐควรส่งเสริม เนื่องเพราะกระบวนการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่ยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องมีฐานการผลิตอย่างอื่นก็สามารถทำได้ เพียงมีพื้นที่ที่เหมาะสม และยังไม่ต้องพึ่งทรัพยากร อย่างถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ รวมถึงระบบโลจิสติกส์ไม่วุ่นวายอีกด้วย
      
       ผู้ผลิต ‘ไม่พร้อม-กั๊กใบจอง’
      
       ดร.เดชรัตน์ บอกอีกว่า ปัญหาการออกใบอนุญาตซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยยังไม่ชัดเจนในหลายด้าน ทำให้เกิดกรณีผู้มีใบจอง แต่ไม่มีความพร้อมในการผลิตจริง ทำให้ผู้มีความพร้อมเสียโอกาสไป ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้ผู้มีความพร้อม แจ้งความจำนงล่วงหน้า 6 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องมีใบจองจึงจะสอดคล้องกับความสามารถในการผลิตและความต้องการใช้จริง
      
       ส่วนมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าคืนในราคาเพิ่ม หรือ Adder จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 8.00 บาท ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kwh)1 ควรประกาศให้ชัดเจนว่าอยู่ในอัตราเท่าไรในปีนี้ ปีหน้า และปีถัดไป เพื่อผู้ประกอบการจะได้วางแผน เตรียมการได้อย่างเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องลุ้น ทั้งนี้แนวโน้มในอนาคตต้นทุนการผลิตจะลดลง จึงเห็นควรว่าค่า Adder ควรลดลงตามไปด้วย ซึ่งความชัดเจนของนโยบายภาครัฐจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเติบโตของกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์
      
       ปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายแห่งสนใจตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนมาก ประกอบด้วย บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด, เอ็กโก กรุ๊ป, บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ฯลฯ
      
       ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์บูม
      
       ด้าน ทรงกลด วงศ์ไชย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ฟินันเซียไซรัส กล่าวถึงตลาดของกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ว่า หลังจากภาครัฐอุดหนุนค่า Adder จำนวน 8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ผู้ประกอบการต่างให้ความสนใจ และมีผลการตอบรับที่ดี เพราะโดยปกติแล้วการผลิตไฟฟ้าถือว่าเป็นรายได้ที่มั่นคง ผลิตออกมาแล้วมีตลาดรองรับ และเป็นการลดความเสี่ยง
      
       ทั้งนี้ถ้าผู้ประกอบการลงทุนในการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์เอง โดยไม่ได้รับการสนับสนุน Adder ก็ยังถือว่าไม่คุ้ม เนื่องจากต้นทุนค่าแผงโซล่าเซลล์ที่สูง ทั้งต้องใช้พื้นที่กว้าง จะไม่สามารถขายไฟได้ในราคาเท่ากับพลังงานที่ผลิตจากแหล่งอื่น ส่วนการอุดหนุน Adder ของภาครัฐในครั้งหน้าอาจลดลงอยู่ที่ 6 บาท
      
       สอดคล้องกับโชคชัย อัศวรังสฤษฎ์ ผู้อำนวยการสายพัฒนาธุรกิจ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ถือว่าเติบโตรวดเร็ว เนื่องเพราะปัจจัยด้านต้นทุนที่ต่ำลง และนโยบายภาครัฐที่สนับสนุน ในอดีตหาก Adder 8 บาทก็ถือว่ายังไม่คุ้มที่จะลงทุน แต่ปัจจุบันค่าแผงโซล่าเซลล์ลดลงมาก ตั้งแต่หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2008 ทำให้ความต้องการชิ้นส่วนที่ใช้ในโซล่าเซลล์ต่ำลดบางชิ้นมีต้นทุนจึงถูกลง รวมถึงภายหลังรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนการทำโซล่าฟาร์ม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากยิ่งขึ้น
      
       ‘บางจาก’ลุยตลาดพลังงานแสงอาทิตย์
      
       ส่วนของบริษัทบางจากฯ สนใจพลังงานทดแทนในกลุ่มของแสงอาทิตย์มากที่สุด โดยมีปัจจัยสนับสนุน ประกอบด้วย 1. ชุมชนยอมรับ 2.ภาครัฐสนับสนุน 3.แนวโน้มต้นทุนการผลิตต่ำลง 4.การทำกิจการไฟฟ้ามีความเสี่ยงน้อย 5. ประเทศไทยมีพื้นที่ๆ เหมาะสม มีศักยภาพในการผลิต
      
       โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ Sunny Bangchak ของบางจากปัจจุบันมีด้วยกัน 3 เฟส เฟสแรก ขนาด 38 เมกะวัตต์ ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ส่วนเฟสที่2 อยู่ที่ชัยภูมิ ขนาด 32 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 55 หรือ ต้นปี 56 ส่วนเฟสที่3 ขนาด 48 เมกะวัตต์ อยู่ที่สระบุรี ทั้งนี้บางจากยังวางเป้ามายในช่วง 10 ปีจะผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 500 เมกะวัตต์ สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุน
      
       ‘ลพบุรี โซลาร์’ใหญ่ที่สุดในโลก
      
       ขณะเดียวกัน สหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป กล่าวว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โครงการลพบุรี โซลาร์ เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป บริษัท ซีแอลพี ไทยแลนด์ รีนิวเอเบิลส์ ลิมิเต็ด และ บริษัท ไดมอนด์ เจเนอเรติ้ง เอเซีย ลิมิเต็ด ในสัดส่วนร้อยละ 33.33 เท่ากัน ขนาด 63 เมกะวัตต์ ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของประเทศไทยที่ใหญ่ติดอันดับโลก และถือเป็นโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางที่ใหญ่ที่สุดในโลก เหมาะกับอากาศร้อนของประเทศไทย
      
       ทั้งนี้ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล และมองว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีความเป็นไปได้ในการก่อสร้างค่อนข้างมากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนอื่นๆ ที่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ติดตั้งน้อย และต้นทุนในการผลิตเริ่มลดลง ขณะที่พลังงานทดแทนอื่นๆ จะมีปัญหาในส่วนของที่ตั้ง และที่มาของแหล่งเชื้อเพลิง
      
       พลังงานแสงอาทิตย์น่าลงทุน
      
       แหล่งข่าว บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 11 โครงการ กำลังผลิตติดตั้งรวม 52.25 เมกะวัตต์ คิดเป็น กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 24 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนใน บริษัท โซลาร์ต้า จำกัด และกลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด ปัจจุบันผลิตได้จำนวน 24 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 จากกำลังการผลิตไฟฟ้าในธุรกิจพลังงานทดแทนในประเทศ
      
       “บริษัทฯ มีเกณฑ์การเลือกลงทุนในโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว หรือ PPA และได้รับเงินสนับสนุนราคาค่าไฟฟ้า หรือ Adder ที่แน่นอน เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมั่นคง โดยบริษัทฯ วางเป้าหมายลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน 100 เมกะวัตต์ ให้ได้ภายในปี 2559”
       ทั้งนี้จะเห็นว่าแนวโน้มตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในไทยกำลังเติบโต และจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการชดเชยพลังงานไฟฟ้าจากส่วนอื่นๆ ในอนาคต

กสิกรไทยนำร่อง Infra Fund พลังงานแสงอาทิตย์ เตรียมพร้อมขายมูลค่า 5,000 ล.

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=132560&catid=176&Itemid=524



altธนาคารกสิกรไทย-เอสพีซีจี เตรียมออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) พลังงานแสงอาทิตย์ ระดมทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท
เพื่อลงทุนในโครงการโซล่าฟาร์ม หรือ ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนไม่เกิน 7 โครงการ มั่นใจอนาคตเป็นทางเลือกระดมทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และเป็นตัวเลือกลงทุนที่มั่นคงสำหรับนักลงทุน

 นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการระดมทุนสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยกลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเอสพีซีจี ได้แต่งตั้งธนาคารกสิกรไทยเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท สำหรับลงทุนในโครงการโซล่าฟาร์ม เชิงพาณิชย์ของ     เอสพีซีจี จำนวนไม่เกิน 7 โครงการ
โครงการโซล่าฟาร์มของเอสพีซีจี ทั้ง 7 แห่ง เป็นโครงการที่มีศักยภาพทางธุรกิจเนื่องจากตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณแสงแดดที่ดี เหมาะแก่การก่อสร้างโครงการโซล่าฟาร์ม และไม่ได้รับผลกระทบจากสถาณการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2554 โดยโครงการโซล่าฟาร์มทั้ง 7 แห่ง แต่ละแห่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 7.46 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้งรวมอยู่ที่ประมาณ 52.22 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ได้รวม 41 เมกกะวัตต์ ซึ่งไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดจะจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 5 ปี และจะมีการต่ออายุสัญญาโดยอัตโนมัติทุก ๆ 5 ปี
การระดมทุนผ่านการเสนอขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของโซล่า เพาเวอร์ครั้งนี้ น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีศักยภาพที่มั่นใจได้ ทั้งด้านที่ตั้งแหล่งผลิตไฟฟ้า รายได้ของธุรกิจที่มีความมั่นคง เนื่องจากเป็นโครงการที่มีสัญญาการซื้อ-ขายไฟฟ้ากับกฟภ.ในระยะยาว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต่ำ และเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนให้เอกชนลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กองทุนรวมนี้จะมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน และมีการจ่ายปันผลซึ่งผู้ลงทุนรายย่อยจะได้รับการยกเว้นภาษีจากเงินปันผล
นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า การออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนำร่องด้วยโครงการโซล่าฟาร์มครั้งนี้ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของธนาคารฯ ในตลาดพลังงานทดแทนของธนาคารฯ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถปรับตัวและริเริ่มเครื่องเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อส่งมอบบริการด้านการเงินอย่างครบวงจร ขณะเดียวกัน ธนาคาร ฯ เชื่อว่าการออกกองทุนรวมจะเป็นแนวทางการระดมทุนที่มีแนวโน้มจะขยายตัวไปสู่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ได้อีกในอนาคต เมื่อภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในสัดส่วนที่สูงขึ้น ซึ่งธนาคารกสิกรไทยมีความเชี่ยวชาญและความพร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุนอย่างเต็มที่
นางสาววันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โดยภาพรวม กลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ มีแผนการพัฒนาโครงการโซล่าฟาร์มจำนวน 34 โครงการ ให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2556 มูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้นกว่า 24,000 ล้านบาท มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 240    เมกะวัตต์ ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่มบริษัทฯ ได้พัฒนาโครงการแล้วเสร็จจำนวน 9 โครงการ ส่วนโครงการที่ 10-16 จะเป็น 7 โครงการที่จะพิจารณาในเบื้องต้นนำเสนอขายเข้าเป็นสินทรัพย์ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยการเสนอขายกองทุนจะเกิดขึ้นหลังการก่อสร้างโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ประมาณการณ์ผลการดำเนินงานของโครงการทั้ง 7 แห่ง ที่จะเข้ากองทุน บริษัทฯ เชื่อว่าจะมีแนวโน้มรายได้ที่มั่นคง สอดคล้องกับโครงการอื่น ๆ ของบริษัทในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีผลการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์แล้วภายใต้สัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทุกโครงการ สำหรับการระดมทุนผ่านกองทุนรวมดังกล่าวจะช่วยให้โครงการมีเงินลงทุนที่ช่วยสนุบสนุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ดำเนินไปอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการพัฒนาโครงการโซล่าฟาร์มทั้ง 34 โครงการ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และสามารถครองความเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยและอาเซียนได้ต่อไป

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของไทย ใหญ่ติดอันดับโลก

http://www.ned.co.th/news2012-01.html

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของไทย ใหญ่ติดอันดับโลก

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน แบบเซลล์ซ้อน

http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/8221-20120324-solar-cell

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน แบบเซลล์ซ้อน

Attention: open in a new window. PDFPrintE-mail
    คุณสมบัติของเซลล์แสงอาทิตย์
    1. ตอบสนองช่วงความยาวคลื่น 350--700 mm
    2. มีค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิต่ำกว่าแผงเซลล์ เทคโนโลยีอื่น จึงเหมาะสมที่จะใช้ในประเทญไทย
    3. กำลังไฟฟ้ามีค่า 40-50 W ผ่านการทดสอบมาตรฐาน (IEC 61646)

      Items details

      • Hits: 1381 clicks
      • Average hits: 153.4 clicks / month
      TCE-Plugin by www.teglo.info

      ทุนวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์

      http://www.nstda.or.th/scholarship/707-solar-cell


      ทุนวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์

      Attention: open in a new window. PDFPrintE-mail
        ** ปิดรับข้อเสนอ **

        ที่มาและความสำคัญ
               เพื่อให้พลังงานแสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด และเพิ่มศักยภาพในการผลักดัน และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยการเลือกใช้ Thin Film (ฟิล์มบาง) ที่เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่ำ จากการใช้วัตถุดิบในการผลิตน้อยกว่า และเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทที่สามารถแก้ปัญหาความผกผันของประสิทธิภาพตามอุณหภูมิ
               ผลที่ได้รับจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในส่วนผลิตตัวเซลล์ฯ นั้นจะครอบคลุมถึงการพัฒนาเครื่องจักร ให้สามารถผลิตได้มีประสิทธิภาพ และการผลิต การพัฒนาวัสดุ วัตถุดิบหลักในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ให้สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ  ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ จะสามารถลดต้นทุนระบบผลิตไฟฟ้า ได้ประมาณ 25,000 ล้านบาทต่อปี (กระทรวงพลังงาน) นอกจากนั้นยังสามารถช่วยกระตุ้นให้มีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและที่พักอาศัยให้มากยิ่งขึ้น โดยหากติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ได้จากปี 2554 เป็นต้นไป ในระดับ 500 MW/ปี แล้ว จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงและค่าดำเนินการของระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยได้ ประมาณ 3,850 ล้านบาท/ปี อีกด้วย

          ยุทธศาสตร์การวิจัยของโปรแกรม

          1. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิกอน (Solar Cell)
          2. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีระบบผลิตความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar thermal)
          3. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง (Dye Sensitized Solar Cell
          4. พัฒนาการประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบ

          วัตถุประสงค์
          1. พัฒนาเครื่องจักร และวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิกอนให้มีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำลงกว่าปัจจุบัน
          2. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีระบบผลิตความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar thermal)
          3. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง และพัฒนาความเสถียรของวัสดุที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพสูงและยืดอายุการใช้งาน
          4. เพื่อวิจัยและพัฒนาให้เกิดสายการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงในระดับเชิงพาณิชย์
          5. เพื่อวิจัยและพัฒนาการการประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบและมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น 
          6. เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1. เทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิกอนที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนการผลิตต่ำ 
          2. เทคโนโลยีระบบผลิตความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง
          3. เทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงประสิทธิภาพสูงต้นทุนต่ำ
          4. การประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบ

          เป้าหมาย
          1. เครื่องจักรการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ให้ประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำลงกว่าปัจจุบัน 
          2. วัสดุการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำลงกว่าปัจจุบัน 
          3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงสาธารณะประโยชน์ และเชิงพาณิชย์

          ระยะเวลาการเปิดรับข้อเสนอโครงการ  ตั้งแต่บัดนี้จนถึงธันวาคม 2552
          การส่งข้อเสนอโครงการสามารถสอบถามรายละเอียดและส่งข้อเสนอโครงการได้ที่
          นางสาวมะลิ จันทร์สุนทร 
          โปรแกรมวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์
          ฝ่ายบริหารจัดการคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย
          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) 
          เลขที่ 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 
          โทรศัพท์ : (66) 2 564 6900 # 2606 โทรสาร :(66) 2 564 7009
          email : mali@nstda.or.th 
          download แบบฟอร์ม ได้ที่ : www.nstda.or.th/cpmo   
          donwnload เอกสารเพิ่มเติม icon solar-cell-program (132.31 kB)

          ฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์

          http://www.litefilm.com.tw/th/2_1763_42665/product/%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C_id241737.html.


          Litefilm Tech Co., Ltd.
          Litefilm Tech Co., Ltd. is a high quality Optical Coating Components Manufacturer in Taiwan, providing Thin Film Solar Module, IR-cut Filter and Optical Fiber Coating Service with superior quality. Our Optical Coating Service can be applied in Projector Display Components, DVD Pickup Head and Thin Film Solar Modules. If you are searching for reliable Optical Coating and Optical Fiber Coating Solution Supplier, please do not hesitate to contact us. Main Products: Thin Film Solar Module IR Cut Filter Optical Coating Optical Fiber Coating Component

          ฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์

          หมวดหมู่  > ฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ > ฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์



          ชื่อสินค้า :
          ฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์

          คำอธิบาย


          ปรับแต่งสำหรับลูกค้า
          420 ~ 1400nm, rABS> 90%
          Ag
          ฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์



          นี้เป็นข้อมูลรายละเอียดสำหรับฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์. ข้อมูลรวมถึงรูปแบบชื่อคำอธิบายและข้อกำหนดสำหรับฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์คำที่เกี่ยวข้อง:ฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์


          กรุณาส่งคำถามของคุณสำหรับฟิล์มบางโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์มาให้เรา เราจะติดต่อคุณเร็ว ๆ นี้ โปรดตรวจสอบออกประเภทผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้านล่าง

          Designed by Web Builder & Trade Associated with Trade AsiaAddress :  NO.40, Yanhe ST., Jubei City Hsinchu,Taiwan 302 ROC
          Telephone :  886-3-551-1100#145  Fax :  886-3-552-8787
          E-Mail : service@litefilm.com.tw