Monday, January 21, 2013

ทุนวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์

http://www.nstda.or.th/scholarship/707-solar-cell


ทุนวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์

Attention: open in a new window. PDFPrintE-mail
    ** ปิดรับข้อเสนอ **

    ที่มาและความสำคัญ
           เพื่อให้พลังงานแสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด และเพิ่มศักยภาพในการผลักดัน และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยการเลือกใช้ Thin Film (ฟิล์มบาง) ที่เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนต่ำ จากการใช้วัตถุดิบในการผลิตน้อยกว่า และเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทที่สามารถแก้ปัญหาความผกผันของประสิทธิภาพตามอุณหภูมิ
           ผลที่ได้รับจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในส่วนผลิตตัวเซลล์ฯ นั้นจะครอบคลุมถึงการพัฒนาเครื่องจักร ให้สามารถผลิตได้มีประสิทธิภาพ และการผลิต การพัฒนาวัสดุ วัตถุดิบหลักในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ให้สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ  ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ จะสามารถลดต้นทุนระบบผลิตไฟฟ้า ได้ประมาณ 25,000 ล้านบาทต่อปี (กระทรวงพลังงาน) นอกจากนั้นยังสามารถช่วยกระตุ้นให้มีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและที่พักอาศัยให้มากยิ่งขึ้น โดยหากติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ได้จากปี 2554 เป็นต้นไป ในระดับ 500 MW/ปี แล้ว จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงและค่าดำเนินการของระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยได้ ประมาณ 3,850 ล้านบาท/ปี อีกด้วย

      ยุทธศาสตร์การวิจัยของโปรแกรม

      1. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิกอน (Solar Cell)
      2. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีระบบผลิตความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar thermal)
      3. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง (Dye Sensitized Solar Cell
      4. พัฒนาการประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบ

      วัตถุประสงค์
      1. พัฒนาเครื่องจักร และวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิกอนให้มีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำลงกว่าปัจจุบัน
      2. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีระบบผลิตความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar thermal)
      3. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง และพัฒนาความเสถียรของวัสดุที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพสูงและยืดอายุการใช้งาน
      4. เพื่อวิจัยและพัฒนาให้เกิดสายการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงในระดับเชิงพาณิชย์
      5. เพื่อวิจัยและพัฒนาการการประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบและมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น 
      6. เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      1. เทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิกอนที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนการผลิตต่ำ 
      2. เทคโนโลยีระบบผลิตความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง
      3. เทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงประสิทธิภาพสูงต้นทุนต่ำ
      4. การประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบ

      เป้าหมาย
      1. เครื่องจักรการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ให้ประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำลงกว่าปัจจุบัน 
      2. วัสดุการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำลงกว่าปัจจุบัน 
      3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงสาธารณะประโยชน์ และเชิงพาณิชย์

      ระยะเวลาการเปิดรับข้อเสนอโครงการ  ตั้งแต่บัดนี้จนถึงธันวาคม 2552
      การส่งข้อเสนอโครงการสามารถสอบถามรายละเอียดและส่งข้อเสนอโครงการได้ที่
      นางสาวมะลิ จันทร์สุนทร 
      โปรแกรมวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์
      ฝ่ายบริหารจัดการคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย
      สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) 
      เลขที่ 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 
      โทรศัพท์ : (66) 2 564 6900 # 2606 โทรสาร :(66) 2 564 7009
      email : mali@nstda.or.th 
      download แบบฟอร์ม ได้ที่ : www.nstda.or.th/cpmo   
      donwnload เอกสารเพิ่มเติม icon solar-cell-program (132.31 kB)

      No comments:

      Post a Comment