Monday, January 21, 2013

GUNKUL เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัว ล่าสุดระดมเงินทุน จาก SCB 2,390 บาท สำหรับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซล 30.9 MW


GUNKUL เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัว ล่าสุดระดมเงินทุน จาก SCB 2,390 บาท สำหรับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซล 30.9 MW


คงเป็นที่ทราบกันดีว่าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นเบอร์หนึ่งที่มีศักยภาพและหน้าลงทุนมากที่สุดด้านพลังงานทดแทนในประเทศไทยประกอบกับต้นทุนของอุปกรณ์ที่มีราคาลดน้อยลง จึงมีนักลงทุนทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้ามาลงทุนและขอใบอนุญาตขายไฟฟ้ามากขึ้น

โดย ณ ปัจจุบันจะเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์กันเป็นระยะในการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการโซลาร์ฟาร์มในระดับหลายเมกกะวัตต์ และเกทับกันว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บ้างก็บอกว่าใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนดูแล้วเห็นแววรุ่งสำหรับอนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ ในประเทศไทย
เพราะปัจจุบันธุรกิจด้านพลังงานได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังจากภาครัฐ และหากประเทศมีความมั่นคงมีการขยายระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานก็จะทำให้ธุรกิจพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์มีโอกาสเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ

อย่างไรก็ตามล่าสุด บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL มีแผนเดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัวภายในปีนี้เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนด้านพลังงานทดแทน โดยได้เดินหน้าดำเนินการในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ และในอนาคตจะขยายธุรกิจไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม 

โดย นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากปัจจัยดังกล่าวจึงได้แต่งตั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการระดมทุน (Financial Advisor) และเป็นผู้จัดการในการระดมเงินทุน (Mandated Lead Arranger) โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 2,390 บาท สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30.9 เมกะวัตต์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายธุรกิจตามเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนอย่างครบวงจร อันจะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตและการขยายตัวด้านธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30.9 เมกะวัตต์นั้นเป็นโครงการที่ GUNKUL ได้ร่วมลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้รับ Adder 8 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี สำหรับการดำเนินการโครงการตลอด 25 ปี โดยในปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 7.4 เมกกะวัตต์ ในปี 2554 และมีแผนจะก่อสร้างส่วนที่เหลืออีก 23.5 เมกกะวัตต์ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 นี้ 

No comments:

Post a Comment