Wednesday, March 13, 2013

"พงษ์ศักดิ์"ส่งสัญญาณเลิกส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ชี้เป็นภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน




"พงษ์ศักดิ์"ส่งสัญญาณเลิกส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ชี้เป็นภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน เตือนสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้รับความเสี่ยงโครงการเอง
http://ads.nationchannel.com/adserverkt/adlog.php?bannerid=695&clientid=438&zoneid=119&source=&block=0&capping=0&cb=95ca1fab27902a33c5896051595b6240
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในปี 2556 นี้กระทรวงพลังงานมีแนวทางที่ชัดเจนในการสนับสนุนการผลิลไฟฟ้าจากไบโอแก๊ส เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการหมักหญ้าเนเปียร์ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนระยะยาวในการส่งเสริมให้เกิดขึ้นจำนวน 10,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 10 ปี ที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่จะมีการนัดหมายการประชุมในเร็วๆนี้
ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ ตามเป้าหมายจำนวน 2,000 เมกะวัตต์ นั้น หากโครงการใดไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามแผนก็จะต้องถูกยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไป โดยจะไม่มีการรับซื้อเข้ามาเพิ่ม และได้ส่งสัญญาณไปถึงสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับโครงการให้พิจารณารับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเอง เนื่องจาก กระทรวงพลังงานไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนเนื่องจาก โครงการโรงไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ ที่ได้รับการอุดหนุนส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) จำนวน 8 บาทต่อหน่วยนั้น เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานอีกประมาณ3บาทต่อหน่วย ผู้ประกอบการจะได้รับอัตราค่าไฟฟ้าถึง11บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นภาระต่อค่าไฟฟ้าที่จัดเก็บกับประชาชน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมามีโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่เสนอขายไฟฟ้าให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวนประมาณ 2,800 เมกะวัตต์ โดย กฟภ.มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า แล้วประมาณ 2,000เมกะวัตต์ และอีกประมาณ 800เมกะวัตต์ ยังไม่ได้รับการพิจารณาในการซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะมีโครงการที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้จริง จำนวนประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ ที่เหลืออีกประมาณ800 เมกะวัตต์ อยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ให้ความเห็นต่อ กฟภ.ไปว่า หากโครงการที่มีความก้าวหน้าไม่ถึง 80% ก็ไม่ควรที่จะขยายระยะเวลาการดำเนินการออกไป
ทั้งนี้ โครงการที่มีปัญหาส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยี ที่เรียกว่า Thermal Solar Plant ซึ่งมีต้นทุนที่สูงและสถาบันการเงินไม่สนใจที่จะปล่อยกู้ ซึ่งมีจำนวนประมาณ500เมกะวัตต์ และผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวพยายามที่จะยื่นเรื่องของเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แต่กระทรวงพลังงาน ไม่อนุมัติ ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการยื่นขอโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าวยังไม่มีรายใดสามารถที่จะดำเนินโครงการเพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เลย โดยส่วนใหญ่จะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบภายในปี 2557
สำหรับความคืบหน้าการจัดทำระบบฟีทอินทารีฟ หรือ ระบบการสนับสนุนเงินในการผลิตไฟฟ้าตามต้นทุนที่แท้จริง (Feed in tariffs หรือ เอฟไอที)เพื่อมาใช้แทนระบบแอดเดอร์นั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นหลังจากผ่านการทำประชาพิจารณ์ไปเมื่อปลายปี 2555 โดยจะใช้ระบบฟีทอินทารีฟสำหรับไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่ 5.12 บาทต่อหน่วย ขณะที่แอดเดอร์ปัจจุบันอยู่ที่ 6.50 บาทต่อหน่วย ซึ่งภาคเอกชนบางส่วนไม่เห็นด้วยเพราะกำไรลดลง
อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ไม่สนับสนุนเรื่องของโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ อาจจะทำให้ การพิจารณานโยบายเรื่องของ Feed in Tariff ในส่วนของโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ที่อาจจะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าอีก700-800 เมกะวัตต์ เพื่อให้ครบ 2,000 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย ทั้งตั้งไว้ อาจจะต้องชะลอการดำเนินการไปก่อน

No comments:

Post a Comment